วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2562
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2/2561
หน้าเว็บ
▼
รายชื่อ
▼
Course Syllabus
▼
บทความ
▼
สื่อโทรทัศน์ครู
▼
เทคนิคเกี่ยวกับศิลปะ
▼
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562
ครั้งที่ 3
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562
เวลา 08:30 - 12:30 น.
💕 ความรู้ที่ได้รับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ 1. ทฤษฎีพัฒนาการ
- พัฒนาการทางศิลปะของ โลเวนเฟลด์ (Lowenfeld)
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
- ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
- ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
- ทฤษฎีโอตา (Auta)
➤ ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา
ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตัวประกอบของสติปัญญา - เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
- ความมีเหตุผล
- การแก้ปัญหา
กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา : เกี่ยวกับ ข้อมูล หรือ สิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด สมอง รับข้อมูลเข้าไปคิด พิจารณา 4 ลักษณะ คือ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีการคิด : มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน 5 ลักษณะ
- การรู้จัก การเข้าใจ
- การจำ
- การคิดแบบอเนกนัย (คิดได้หลายรูปแบบ หลากหลาย)
- การคิดแบบเอกนัย (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
- การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด : มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง จากมิติที่ 1 + มิติที่ 2
มี 6 ลักษณะ หน่วย จำพวก ความสัมพันธ์ ระบบ การแปลงรูป และการประยุกต์
สรุป เป็นทฤษฎีที่รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีการคิดอเนกนัย เป็นการคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล ซึ่งลักษณะความคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่
➤ ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
แนวคิด - ความคล่องแคล่วในการคิด
- ความยืดหยุ่นในการคิด
- ความริเริ่มในการคิด
แบ่งลำดับการคิดสร้างสรรค์เป็น 5 ขั้น 1.ขั้นการค้นพบความจริง
2.ขั้นการค้นพบปัญหา
3.ขั้นการตั้งสมมติฐาน
4.ขั้นการค้นพบคำตอบ
5.ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
สรุป ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่ขาดหายไป แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด ตั้งสมมุติฐาน ทดสอบสมมุติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ ทำให้เกิดแนวทางในในการค้นคว้าสิ่งแปลกๆใหม่ๆต่อไป
💢ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
ทอร์แรนซ์จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 💢
➤ ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
การทำงานของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน ( คิดด้านบวก กับ คิดด้านลบ )
สมองซีกซ้าย ➟ ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
สมองซีกขวา ➟ ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธุศรี กล่าวว่า คนเรามีสมอง 2 ซีก
• สมองซีกขวา : จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี
•ส่วนสมองซีกซ้าย : การคิดที่เป็นเหตุผล จะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อ เด็กอายุ 11-13 ปี
⇩
💢 แนวคิดการทำงานของสมอง 2 ซีกถูกนำไปพัฒนาการจัดการศึกษาแบบบรูณาการ
และ วัฏจักรการเรียนรู้ 4 mat และการทำกิจกรรมที่หลากหลาย 💢
➤ ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
• ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา
• ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา ( ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์ )
• จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่
- ความสามารถด้านภาษา - ความสามารถด้านตรรกวิทยาแลคณิตศาสตร์
- ความสามารถด้านดนตรี - ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
- ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ - ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
- ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
- ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
• ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
• ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
• ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน
• ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
• ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้
• ในปัญญาแต่ละด้าน ก็มีความสามรถหลายอย่าง
➤ ทฤษฎีโอตา (Auta)
เดวิส และ ซัลลิแวน
แนวคิด ความคิดสร้างสรรค์มนุษย์พัฒนาสูงขึ้นได้ มี 4 ลำดับขั้น
ขั้นตอนที่ 1 การตระหนัก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ
ขั้นตอนที่ 3 เทคนิควิธี การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเองสามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
วงจรของการขีดๆเขียนๆ เคลล็อก (Kellogg) จำแนกเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย (placement stage)
เด็กวัย 2 ขวบ ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (shape stage)
เด็กวัย 3 ขวบ การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น เขียนวงกลมได้ ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (design stage)
เด็กวัย 4 ขวบ ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้ วาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (pictorial stage)
เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้ รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้ ควบคุมการขีดเขียนได้ดี วาดสามเหลี่ยมได้
พัฒนาการด้านร่างกาย ( กีเซลล์และคอร์บิน )
สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
1.ด้านการตัด - อายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
- อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
- อายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้
2.การขีดเขียน- อายุ 3-4 ปี เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
- อายุ 4-5 ปี เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้
- อายุ 5-6 ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
3.การพับ - อายุ 3-4 ปี พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
- อายุ 4-5 ปี พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
- อายุ 5-6 ปี พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ
4.การวาด - อายุ 3-4 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
- อายุ 4-5 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
- อายุ 5-6 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน มือ คอ ผม
กิจกรรมในห้องเรียน
กิจกรรมที่ 7
วาดรูปตามชอบ และวาดลวดลายลงในภาพ
👉👉 รวบรวมผลงานจัดนิทรรศการ 👈👈
ประเมินตนเอง : มีความพยายามในการวาดรูป ตั้งใจวาด ระบายสี เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด
ประเมินเพื่อน : ทุกคนต่างตั้งใจทำมาก และมีความคิดและจินตนาการที่ดีแตกต่างกันออกไป
ประเมินผู้สอน : มีการนำตัวอย่างมาให้ผู้เรียนดู เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562
ครั้งที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2562
เวลา 08:30 - 12:30 น.
💕 ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมในวันนี้เป็นเรื่องการออกแบบรูปและทำใบงานทั้งหมด 6 ชิ้นงานซึ่งใบงานในแต่ละใบอาจารย์ได้กำหนดเวลาในการทำ เพื่อให้เวลาไม่ยืดเยื้อ
(ถ้าผลงานบางชิ้นไม่เสร็จสามารถนำกลับมาทำต่อได้)
กิจกรรมที่ 1 วาดภาพระบายสี
คำสั่ง: วาดตนเองตามจินตนาการ และตกแต่งให้สวยงาม
กิจกรรมที่ 2 วาดภาพระบายสี
คำสั่ง: วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม
กิจกรรมที่ 3 วาดภาพระบายสี
คำสั่ง: วาดภาพหัวข้อ “ มือน้อยสร้างสรรค์”
กิจกรรมที่ 4 ออกแบบลวดลาย
คำสั่ง: วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง
กิจกรรมที่ 5 ออกแบบลวดลาย
คำสั่ง: วาดโครงร่างอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ชนิด
และออกแบบลวดลายตามจินตนาการพร้อมระบายสี
กิจกรรมที่ 6 วาดต่อจุดเป็นภาพ
คำสั่ง: วาดภาพต่อจุดให้เป็นภาพตามจินตนาการ พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม
กิจกรรมที่ 7 ออกแบบลวดลาย
คำสั่ง : วาดโครงร่างอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ชนิด
และออกแบบลวดลายตามจินตนาการพร้อมระบายสี
😊 ภาพกิจกรรมระหว่างการทำงาน 😊
ประเมินตนเอง : มีความพยายามในการวาดรูป ตั้งใจวาด ระบายสี เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด
ประเมินเพื่อน : ทุกคนต่างตั้งใจทำมาก และมีความคิดและจินตนาการที่ดีแตกต่างกันออกไป
ประเมินผู้สอน : มีการนำตัวอย่างมาให้ผู้เรียนดู เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรม